ReadyPlanet.com
dot
dot
ฝากคำถาม
dot
bulletมีข้อสงสัยประการใด โปรดคลิกเพื่อตั้งคำถามในกระทู้
bulletต้องการฝึกโยคะอาสนะ
dot
ต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ

dot
dot
Links
dot


ตัวอย่างการวิเคราะห์ Reach Inner Self การค้นหาตัวตนภายในของเรา โดย ดร.ชุติมา วงษ์สวัสดิ์ FB : CHUTIMA WONGSAWAT
หลักสูตร iRest ผ่อนพักตระหนักรู้ 23 พฤศจิกายน 2561 วิทยากร ดร.ชุติมา วงษ์สวัสดิ์ บรรยายให้กับ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด FB : CHUTIMA WONGSAWAT


ห้องผ่อนคลาย
This Column Intro


ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 5) กับการรับประทานอาหารให้ช้าลง

ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 5) กับการรับประทานอาหารให้ช้าลง

          ระลึกเสมอว่าท่านควรเคี้ยวอาหารให้มากขึ้น “เคี้ยวช้าๆ” ถ้าต้องการสงบมากขึ้น ลองนับจำนวนครั้งที่เคี้ยวต่อหนึ่งคำดูนะคะว่าได้กี่ครั้ง การเคี้ยวช้าๆ ไม่รีบเร่ง ดีมากกับระบบย่อยอาหารของเราค่ะ
ขอให้รับประทานอาหารอย่างมีความสุขค่ะ
ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 4) กับการทำงานแบบ “SLOW BUT SURE”

 

ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 4) กับการทำงานแบบ “SLOW BUT SURE”
          ท่านผู้อ่านเป็นอีกผู้หนึ่งหรือไม่ที่มักทำงานผิดพลาดอยู่เสมอ เรียกว่า “ยิ่งรีบ ยิ่งผิด” ว่างั้นเถอะ ที่แล้วก็แล้วไปค่ะ ลองกำหนดเวลาในการทำงานให้มากขึ้น โดยให้เวลาในการตรวจทานอีกนิด การทำงานช้าลงอย่างมีสติทำให้คลื่นสมองช้าลงได้อีกเช่นกัน และหากเครียดระหว่างการใช้ความคิดขณะทำงานให้ฝึกการผ่อนคลายร่างกายด้วยโยคะอาสนะสัก 2-3 นาที นอกจากนี้แล้วท่านผู้อ่านยังอาจนั่งหลับตาแล้วฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย หรืออาจใช้การผ่อนคลายแบบจินตนาการถึงความงดงามของสถานที่ต่างๆที่ท่านผู้อ่านชอบก็ได้ (ท่านผู้อ่านอาจนำวิธีการที่ผู้เขียนเคยสอนไปใช้ก็ได้นะคะ) ขอให้ทำงานอย่างมีความสุขค่ะ กรุณาติดตามอ่าน ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 5) กับการรับประทานอาหารให้ช้าลง
ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 3) กับการดำเนินชีวิตในช่วงเช้าแบบไม่เร่งรีบ (Slow Morning)

 

ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 3) กับการดำเนินชีวิตในช่วงเช้าแบบไม่เร่งรีบ (Slow Morning)
ปฏิวัติการตื่นขอท่านผู้อ่านคือ ตื่นให้เร็วขึ้นพร้อมกับความสดชื่น ยืดเหยียดร่างกายด้วยการฝึกโยคะอาสนะ    เพราะการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการเคลื่อนไหวช้า ๆ อย่างมีสติ  และบริหารลมหายใจจะช่วยทำให้คลื่นสมองต่ำ เป็นการมอบความสงบให้กับร่างกายและจิตใจเพื่อรับมือกับภารกิจต่างๆในวันใหม่อย่างมีสติ นอกจากนี้ทำให้ท่านผู้อ่านสามารถดึงประสิทธิภาพของสมองมาใช้ได้เพิ่มมากขึ้น กรุณาติดตามอ่าน ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 4) กับการทำงานแบบ “SLOW BUT SURE”
“ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 2)

 

“ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 2)
โรค Hurry Sickness Syndrome
บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตที่เร่งรีบเกินไปค่ะ เพราะปัจจุบันมีโรค Hurry Sickness Syndrome  เกิดขึ้นกับผู้ที่มีชีวิตรีบเร่งเกินไป ทำให้ หายใจไม่ทันหรือหายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว และในที่สุด ทำให้แขนขาหมดแรง ใจหวิว อ่อนแอทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้โดยง่าย ถ้าวันนี้รีบเร่งนัก พักยืดเหยียดร่างกายด้วยการฝึกโยคะอาสนะในที่ทำงานพร้อมกับบริหารลมหายใจนะคะ ช่วยได้ค่ะ กรุณาติดตามอ่าน “ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 3) กับการดำเนินชีวิตในช่วงเช้าแบบไม่เร่งรีบ (Slow Morning)
“ช้า” เพื่อสุขภาพ มีทั้งหมด 5 ตอน (ตอนที่ 1)

 

“ช้า” เพื่อสุขภาพ มีทั้งหมด 5 ตอน (ตอนที่ 1)
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆเพื่อผ่อนคลายความเครียดระหว่างวัน
ชีวิตในที่ทำงานทำให้คนเราต้องรีบเร่งกับกิจวัตรประจำวันที่เกิดขึ้น จนทำให้คนเราเครียดโดยไม่รู้ตัว อยากให้ท่านผู้อ่านลองสังเกตตัวเองบ้างขณะทำงานเช่น ท่านเคยหายใจไม่ทัน หายใจหอบ หรือหายใจเร็วบ้างมั้ย ถ้ารู้สึกถึงจังหวะลมหายใจได้ ท่านจะสามารถบริหารความเครียดที่เกิดขึ้นในการทำงานได้ โดยท่านเพียงเริ่มต้นเพียงปรับหลังให้ตรงและเริ่มการหายใจเข้าให้ลึกขึ้น และค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆปฏิบัติซ้ำๆ จนท่านผู้อ่านรับรู้ว่าท่านสามารถหายใจออกช้าๆ ได้แล้ว สิ่งที่ได้คือ ความผ่อนคลาย ไม่เครียด ทำให้เราป่วยน้อยลงค่ะ กรุณาติดตามอ่าน “ช้า” เพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 2) กับโรค Hurry Sickness Syndrome
1 2 3 4 5 6 7 8 [Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ขอขอบพระคุณที่กรุณาติดตามและเยี่ยมชม http://www.goodlifecenter-yoga.org หากสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลากร หลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ กรุณาติดต่อได้ที่โทร. 081-4556016, 087-906-7522 หากต้องการอ่านความรู้เกี่ยวกับการฝึกโยคะอาสนะ เคล็ดลับในการรักษาสุขภาพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการฝึกโยคะอาสนะ และวันเวลาการฝึกโยคะอาสนะของศูนย์โยคะ Good Life Center กรุณาคลิกไปที่ http://www.goodlifecenter-yoga.org ขอให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีค่ะ